การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถึใหม่ (Design- Based New Normal): ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19

Main Article Content

รองศาสตราจารย์ ดร.เทื้อน ทองแก้ว

บทคัดย่อ

               การแพร่ระบาดของ COVID 19 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการศึกษาทุกระดับทั่วโลก ทำให้สถานศึกษาเกือบทุกแห่งทั่วโลกต้องปิดก่ารเรีบการสอน จากข้อมูลของ World Economic Forum (2020) อ้างถึง UNESCO มีจำนวนนักเรียน 1.38 พันล้านคนได้รับผลกระทบจากการปิดสถานศึกษา ซึ่งเป็นผลกระทบต่อเนื่องอย่างกว้างขวาง และเกิดการปรับเปลี่ยนระบบการจัดการศึกษา ที่เด่นชัดที่สุด คือ การเรียนการสอนที่ต้องดำเนินงานต่อ มิให้หยุดชะงัก เพราะจะส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียน นั่นก็คือคุณภาพของประชากรในอนาคต จึงมีการปรับการเรียนสอนในหลายรูปแบบ เกิดนวัตกรรมทางความคิด เป็นความคิดกระทันหัน ไม่มีการเตรียมการก่อนล่วงหน้า มีรูปแบบใหม่ทางการเรียนการสอน จากนักเรียนไม่สามารถมาโรงเรียนได้ แต่สามารถเรียนได้ แนวคิดทางการเรียนการสอนทางไกลโดยใช้สื่อออนไลน์ จึงระดมเข้ามาช่วยแก้ปัญหาทางการเรียนการสอน การทำงานก็เช่นเดียวกัน ทั้งครูและพนักงานก็ทำงานที่บ้านช่วงระบาดหนัก แต่ไม่สามารถดำเนินงานได้สมบูรณ์ เพราะทางโรงเรียนและนักเรียนบางส่วนไม่สามารถหาเครื่องมือทางการเรียนได้ครบ เช่น สมาร์ทโฟนที่มีคุณภาพดี ผู้ปกครองก็เดือดร้อนเพราะระบบเศรษฐกิจหยุดชะงัก คนตกงานจำนวนมาก ซึ่งถือว่าเป็นกระทบที่รุนแรง อาจจะรุนแรงกว่าเกิดสงครามโลก เพราะมีคนเสียชีวิตจำนวนมาก (7 แสนคน จากข้อมูล ศปค. 10 สิงหาคม 2563) และติดเชื้อระบาดกระจายเป็นทวีคูณ ผลกระทบต่อทางการศึกษาครั้งนี้  มีผลโดยตรงต่อนักศึกษาซึ่งเป็นกำลังของชาติ และส่งผลกระทบในระยะยาว ทำให้เกิดระบบการจัดการศึกษาในรูปแบบใหม่ สถาบันการศึกษาทุกระดับต้องปรับตัวในสถานการณ์ปัจจุบัน และต้องเตรียมเพื่ออนาคต ในบทความนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของ COVID -19 ต่อระบบการศึกษา โดยเฉพาะการเรียนการสอน การเข้าสู่ชีวิตวิถึใหม่ (New Normal) และการออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่


COVID-19


            การระบาดของไวรัสโคโรนาในปลายปี 2562 จากเมืองอู่ฮั่น จนถึงปัจจุบัน (19 สิงหาคม 2563) ได้มีการระบาดไปทั่วโลก  ซึ่งต่อมา WHO ได้ประกาศตั้งชื่ออย่างเป็นทางการสำหรับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ว่า COVID-19 ซึ่งย่อมาจาก "coronavirus disease starting in 2019” หรือโรคไวรัสโคโรนาที่เริ่มต้นในปี 2019 และต่อมา วันที่ 11 มีนาคม 2563 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดนี้เป็นโรคระบาดทั่วไป   ปัจจุบัน (19 สิงหาคม 2563) มีผู้ติดเชื้อยืนยันแล้วทั่วโลกจำนวนทั้งสิ้น 21,991,954 คนใน เสียชีวิตจากโรคระบาดแล้ว 777,018 คน ขณะที่มีผู้หายป่วยแล้ว 13,981,129 คน  สำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศแรกที่มีการพบ    ผู้ติดเชื้อ COVID-19 นอกประเทศจีน พบผู้ติดเชื้อรายแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563 และปัจจุบันประเทศไทย   มีจำนวนผู้ติดเชื้อที่ยืนยันแล้ว 3,382 คน จำนวนผู้เสียชีวิต 58 คน และผู้ป่วยที่มีการรักษาและหายแล้ว 3,199   (วิกิพีเดีย 2563)


            สำหรับการแพร่เชื้อของไวรัสชนิดนี้มีการแพร่เชื้อระหว่างคนในลักษณะเดียวกับไข้หวัดใหญ่ โดยผ่าน  การติดเชื้อจากละอองเสมหะจากการไอ สำหรับการสัมผัสผู้ติดเชื้อผู้สัมผัสจะมีอาการแสดงโดยทั่วไป 5 วัน อย่างไรก็ตามอาจจะมีระยะการฟักตัวก่อนแสดงอาการได้ถึง 14 วัน ลักษณะอาการของผู้ติดเชื้อโดยทั่วไปที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้ ไอแห้งๆ ไม่มีเรี่ยวแรง ไอแบบมีเสมหะ อยู่ระหว่างร้อยละ 38-88  และการหายใจลำบาก เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหัว และหนาวสั่น อยู่ระหว่างร้อยละ 11-18


           การรักษามุ่งเป้าไปที่การจัดการกับอาการและการรักษาแบบประคับประคอง และสำหรับมาตรการป้องกันคือการล้างมือ การอยู่ห่างจากบุคคลอื่นโดยเฉพาะกับบุคคลที่ป่วย สำหรับบุคคลที่ต้องสงสัยว่าอาจจะมีการติดเชื้อต้องกักตัวห่างจากบุคคลอื่น ๆเป็นเวลา 14 วัน  สำหรับค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน (จำนวนเฉลี่ยของบุคคลที่บุคคลที่ติดเชื้อมีแนวโน้มจะแพร่ใส่) ระหว่างมนุษย์สู่มนุษย์ของไวรัสอยู่ที่ประมาณ 2.13 ถึง 4.82 ซึ่งคล้ายกับไวรัสโคโรนาสายพันธ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS - CoV) สำหรับการเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโควิดจะมีระยะตั้งแต่การพัฒนาการของโรคจนถึงแก่ชีวิตจะอยู่ระหว่าง 6-41 วัน ซึ่งบุคคลที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัย ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และนอกจากนั้นมีปัญหาทางด้านสุขภาพ เช่น เบาหวาน และโรคหัวใจหลอดเลือด (Pornphol and Chittayasothorn 2020)

Article Details

How to Cite
ทองแก้ว ร. ด. (2020). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถึใหม่ (Design- Based New Normal): ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 1–10. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/241830
บท
บทความวิชาการ

References

ไพโรจน์ บาลัน. (2549). การจัดการภาวะวิกฤติ. แปลและเรียบเรียงจาก Barton, L. (2004). Crisis Management. กรุงเทพฯ: ธรรมกมลการพิมพ์.

ณิชากร พิทยาพงศกร. TDRI New Normal ของการศึกษาไทย คืออะไร เมื่อเรียนทางไกลไม่ใช่คำตอบ. Retrieved August 16, 2020. From https:// tdri.or.th/ 2020/05/ desirable-new-normal-for-thailand-education

ถอดบทเรียนจาก ‘ลี เซียนลุง’ นายกสิงคโปร์ ‘ภาวะผู้นำ’ ในยามวิกฤติรับมือไวรัสโคโรน่าระบาด. Retrieved August 16, 2020. From https://techsauce.co/tech-and-biz/leadership-pm-lee-hsien-loong-singapore- coronavirus

วิกิพีเดีย. (2563). การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้น 14 สิงหาคม 2563, จาก http://www.th.wikipedia.org/wigi/การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย_พ.ศ._2563

The Standard. อนาคตการศึกษาหลังโควิด-19 เป็นอย่างไร โรงเรียนยังจำเป็นอยู่ไหม. Retrieved August 16, 2020. From https://www.youtube.com/watch?v=DJS-BplpZNg&feature=relatedTinga,K.Three keys to education in the new normal. Retrieved August 12, 2020. From https://mb.com.ph/2020/08/09/three-keys-to-education-in-the-new-normal/

Global COVID-19. (2563). จัดไทยฟื้นตัวจาก COVID-19 อันดับ 2 ของโลก. Retrieved August 16, 2020. From https:// tdri.or.th/ 2020/05/ desirable-new-normal-for-thailand-educ

Mitroff, I.I. and Anagnos, (2001) . Manage Crisis Before They Happen: What every Executive and Manager Needs to Know about Crisis Management. New York: American Management Association.

Gary R., M. Designing Effective Instruction, 6th Edition. John Wiley & Sons, 2010. 4 ways COVID-19 could change how we educate future generations. Retrieved August 16,2020. from

https://www.weforum.org/agenda/2020/03/4-ways-covid-19-education-future-generations/

Pornphol, P. and S. Chittayasothorn (2020). System Dynamics Model of COVID-19 Pandemic Situation: The Case of Phuket Thailand. ICCMS '20: Proceedings of the 12th International Conference on Computer Modeling and Simulation, Brisbane QLD, Australia Association for Computing Machinery, New York, NY, United States.

Schwenger, B. 2561). Creating blended learning experiences requires more than digital skills. Retrieved August 16, 2020.From file:///C:/Users/SDU/Downloads/46- SOTEL%20Symposium_%20Brief%20Presentation-266-1-10-20191218%20(1).pdf

World Economic Forum. (2020). The World Economic Forum COVID. Retrieved August 16,2020. From https://www.weforum.org/agenda/2020/07/covid19-education-lockdown-children/

Zheng, L Journal of Computers in Education v. 2, p. 399–420 (2015)