Active Learning: จากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน สู่ปรัชญาและทฤษฎีรากฐาน ตั้งทิศให้ถูก เพื่อไม่ทิ้งครูให้หลงทางอีกต่อไป Active Learning: From Misconceptions to Philosophy and Foundation Theory set the right direction in order not to leave the teacher astray again

Main Article Content

นิภาพร กุลสมบูรณ์
สุวิมล ว่องวาณิช

บทคัดย่อ

แม้ว่าแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) เป็นที่รู้จัก และนำมาใช้ในการจัดการศึกษาของไทยมาหลายทศวรรษแล้ว แต่พบว่าแนวคิดดังกล่าวก็ยังไม่แพร่หลายในโรงเรียนทั่วไป จนกระทั่งปีพ.ศ. 2558 กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ภายใต้โครงการ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” มุ่งเน้นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความหมาย
จัดกระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ โดยผู้สอนสามารถนำแนวคิด “การจัดการเรียนรู้เชิงรุก” ไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามมาตรฐาน และตัวชี้วัดในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทุกรายวิชา รวมถึงการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และกิจกรรมส่งเสริม
การเรียนรู้อื่นๆ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2558)


ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายอย่างเร่งด่วน ส่งเสริมให้มี “การจัดการเรียนรู้เชิงรุก” เพื่อพัฒนาสมรรถนะแก่ผู้เรียนในโรงเรียนทั่วประเทศอีกครั้ง  โดยทุกสำนักที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องร่วมกันการพัฒนาครูให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกได้ เพื่อยกระดับสมรรถนะและคุณภาพผู้เรียนตามที่กำหนดในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ปรับปรุง พ.ศ. 2560) ภายในเดือนกันยายน 2565  โดยมุ่งให้ “การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเป็นกระบวนการสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรฯ”  (กระทรวงศึกษาธิการ, 2565)


ในช่วงสองปีที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโคโรน่าไวรัส (โควิด 19) สร้างผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเยาวชนไทยที่อยู่ในระบบการศึกษา การเกิดภาวะการเรียนรู้ถดถอย ( learning  loss) โดยเฉพาะในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียน จากผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้เรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้ปกครองในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 พบว่าผู้เรียนมีภาวะถดถอยของผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการโดยเฉพาะในวิชาภาษาต่างประเทศ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์  จึงเป็นที่มาของการนำเสนอมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (recovery)  ทั้งหมด 7 ประเด็น โดยส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้เชิงรุกมี
2 ประเด็น ดังต่อไปนี้ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2564)

Article Details

บท
บทความวิชาการ